corrosion test

corrosion treatment ป้องกันการกัดกร่อนด้วยกระบวนการอบชุบ

ชิ้นงานที่เป็นโลหะหรือเหล็ก เมื่อเจอความชื้น เจอสารเคมี หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ย่อมเกิดการกัดกร่อน เกิดสนิมขึ้นได้ วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูกรรมวิธีการป้องกันการกัดกร่อน corrosion treatment แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจ เรื่องการกัดก่อนก่อนดีกว่า

การกัดกร่อนที่เกิดขึ้นบนผิวของโลหะนั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ การกัดกร่อนทั่วไป การกัดกร่อนเฉพาะพื้นที่ การสึกหรอจากพฤติกรรมเชิงกล การกัดกร่อนที่เป็นผลมาจากการสกัดโลหะ และการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นบ่อย การสัมผัสกับของเหลว โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งของเหลวแบบแห้ง แบบที่มีความชื้นผสม และการสะสมของของเหลวบนผิวของวัสดุ สำหรับตัวแปรของการกัดกร่อนจากสภาวะแวดล้อมได้แก่ เงื่อนไขสภาพอากาศ อาทิ ฝนตกอาจชำระล้างฝุ่นที่เกาะกับพื้นผิวของวัสดุได้ แต่ถ้าพื้นที่นั้นเกิดปรากฏการณ์ฝนกรดจะเกิดผลเสียมากกว่า

แนวทางการแก้ไขการกัดกร่อน ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ corrosion treatment หรือการอบชุบ เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของโลหะ เป็นกรรมวิธีที่ใช้ความร้อนเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของโลหะ ซึ่งจะให้ความร้อนและลดความร้อน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของชิ้นงานโลหะ เช่น เพิ่มความแข็งแรงทนทาน ทำให้ชิ้นงานต้านทานการกัดกร่อน ต้านทานการสึกหรอ ป้องกันการเกิดสนิม เป็นต้น การอบชุบ สามารถเพิ่มคุณสมบัติของชิ้นงานให้สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ โดยจะผสมสารต่างๆ ลงไปในเหล็กที่ทำการอบชุบ

ยกตัวอย่างเช่น

  • คาร์บอน มีคุณสมบัติทำให้แข็งแรง ทนทานแต่อาจไปลดคุณสมบัติของการเป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อน
  • โครเมียม ช่วยทำให้เหล็กอบชุบได้ง่ายขึ้นและเพิ่มความแข็งแรง ทนทานให้กับเหล็ก
  • ทังสเตน ช่วยเพิ่มคุณสมบัติให้เหล็กทนทานต่อการเสียดสี
  • โมลิบดิมั่ม ป้องกันการเปราะในขณะที่เหล็กเกิดการคืนตัว และที่สำคัญช่วยต้านทานการกัดกร่อนได้ดี
  • แวนนาเดียม ช่วยทำให้เหล็กสามารถทนทานต่อความร้อนได้ดี
  • นิกเกิล เป็นตัวที่เพิ่มคุณสมบัติทนทานต่อการกระแทรก ทำให้เหล็กไม่เป็นสนิมง่ายด้วย
  • โคบอลต์ ช่วยป้องกันไม่ให้เหล็กเกิดเนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ทำให้เหล็กเกิดความแข็งแรงทนทาน
  • ซิลิคอน ช่วยให้เหล็กทนทานต่อการขัดสีได้ดี เพิ่มค่าแรงดึงที่จุดยืดของเหล็ก นิยมใช้ผสมในเหล็กสปริง

นอกจากการอบชุบ corrosion treatment เพื่อป้องกันการกัดกร่อนแล้ว ยังสามารถทำการเคลือบผิวโลหะได้ด้วย หรือเรียกว่า Coating ป้องกันไม่ให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างน้ำ ออกซิเจน และ Electrolyte เข้มข้น การเคลือบผิววัตถุ ถือได้ว่าเป็นทางที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากสามารถทำได้ตั้งแต่ชิ้นงานโลหะไปจนถึงวัสดุทดแทนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การป้องกันการกัดกร่อนยังสามารถทำได้ชั่วคราว เช่น การใช้กระดาษหรือวัสดุห่อหุ้ม อาจเป็นการเคลือบแว็กซ์ น้ำมัน แผ่นฟิล์ม ป้ายเคลือบต่างๆ